วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Individual Design Project

โครงการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์
เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม
การนำเสนอผลงานออกแบบโครงการกลุ่มการออกแบบพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์น้ำมันมะรุมของกลุ่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพบ้านโรงวัว

ยี่ห้อ Ringa
(รินก้า)



ฉลากบรรจุภัณฑ์

ป้ายTAG

โลโก้









การเรียนสัปดาห์ที่ 14


ในสัปดาห์ที่ 14 กลุ่มเรียน 201




อาจารย์ได้เปิดคลิปวีดีโอการสอนใช้เครื่องมือในโปรแกรม illustrator ให้ดูการออกแบบแอ๊ปเปิ้ลให้เหมือนกับต้นแบบจริง และแนะนำให้เข้าไปดูตัวอย่างงานใน youtube illustrator tutorial และดาว์โหลดเก็บไว้เพื่อเป็นการศึกษาขั้นตอนวิธีการทำ

ศึกษาได้ที่ลิ้งค์ https://www.youtube.com/watch?v=K_mEKVsxyrs






Adobe Illustrator 3D Objects_Mapping Label to Bottle 



อาจารย์ให้ศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ https://www.youtube.com/ 

**วันที่ 30 พฤศจิกายน 2557 สอบในระบบคาร์โลไลน์ และสอบปฏิบัติตามหัวข้อที่กำหนด
**วันที่ 7 ธันวาคม 2557 สอบ Final Project นำเสนองานหน้าช้นเรียนก่อน 18.00น. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย

การเรียนสัปดาห์ที่ 10

การเรียนวิชา ARTD3302 

การออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์
Graphic Design on Packaging
ในสัปดาห์ที่ 10 กลุ่มเรียน 201


อาจารย์ได้แนะนำการใช้ Font สีของ Font ควรจะเป็นแนวใหนและแบบใหนถึงจะถูกต้อง และได้สอนการทำ Pattern ต่างๆเพื่อเป็นแนวทางเอาไปใช้กับบรรจุภัณฑ์ของแต่ละคน
อาจารย์ได้แนะนำเว็บไซต์ให้เข้าไปดูตัวอย่างผลงาน เป็นกรณีศึกษา
http://www.designcrowd.com/

 








การนำเสนอผลงานออกแบบโครงการกลุ่ม

การนำเสนอผลงานออกแบบโครงการกลุ่ม การออกแบบพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์น้ำมันมะรุม

วิชาการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ARTD3302 กลุ่ม 201 

ประจำวันที่ 19 ตุลาคม 2557 อาจารย์ผู้สอน ผศ. ประชิด ทิณบุตร


การนำเสนอผลงานออกแบบโครงการกลุ่มการออกแบบพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์น้ำมันมะรุมของกลุ่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพบ้านโรงวัว
ภาพการออกแบบบรรจุภัณฑ์น้ำมันมะรุม

ภาพการออกแบบบรรจุภัณฑ์น้ำมันมะรุม

ภาพการออกแบบบรรจุภัณฑ์น้ำมันมะรุม




ภาพการออกแบบบรรจุภัณฑ์น้ำมันมะรุม

ภาพการออกแบบบรรจุภัณฑ์น้ำมันมะรุม

ภาพการออกแบบบรรจุภัณฑ์น้ำมันมะรุม
ภาพการนำเสนอการออกแบบพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์ น้ำมันมะรุม


ภาพการนำเสนอการออกแบบพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์ น้ำมันมะรุม

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 7

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 7 
ของวิชาการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ARTD3302กลุ่ม 201 ประจำวันที่ 5 ตุลาคม 2557 อาจารย์ผู้สอน ผศ. ประชิด ทิณบุตร

อาจารย์ผู้สอนได้อธิบายถึงการใช้โปรแกรม SketchUp เบื้องต้น โดยให้เริ่มจากการสร้างตัวผลิตภัณฑ์ขึ้นมาก่อน (ขึ้นรูปตัวผลิตภัณฑ์) แล้วจึงขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์เป็นผนังหุ้มตัวผลิตภัณฑ์ไว้อีกที


2. ทำแบบทดสอบใน Claroline



* สัปดาห์หน้าไม่มีการเรียนการสอน (เตรียมสอบ)

สอบ mid-term วันที่ 19 ต.ค. 2557 มีรายละเอียดดังนี้
1. ใส่ไฟล์งาน .AI ลงใน Google Drive ให้เรียบร้อย
2. ทำ artwork ตามตัวอย่างที่อาจารย์ได้แชร์ไว้ให้
3. เส้น di-cut, เส้นตัด-พับ ให้แยก layer ให้เรียบร้อย
4. ใส่ Giveme5 + ระบุกระดาษ

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 6


การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 6 ของวิชาการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ARTD3302กลุ่ม 201 ประจำวันที่ 28 กันยายน 2557 อาจารย์ผู้สอน ผศ. ประชิด ทิณบุตร


อาจารยได้อธิบายเกี่ยวกับการนำเสนอผลงานในรูปแบบงานกลุ่ม โดยได้ยกตัวอย่างบล็อกของกลุ่ม Dimension ที่สร้างให้กับผู้ประกอบการ "กลุ่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพบ้านโรงวัว" หรือเข้าไปที่ http://artd3302-bannrongwoaw-giveme5.blogspot.com/

มีข้อเสนอแนะดังนี้
1. ใส่ข้อมูลผลิตภัณฑ์ของแต่ละคนในบล๊อกกลุ่ม
2. การใส่ผลงานของแต่ละคน โดยการสร้าง Tab ส่วนตัวของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด
3. ควรใส่ข้อมูลผู้ประกอบการให้ครบถ้วน
4. ส่งคำเชิญให้อาจารย์เป็นผู้เขียนร่วม (admin)



ภาพแสดงหน้าเว็บบล็อกที่สร้างขึ้นเพื่อ"กลุ่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพบ้านโรงวัว"



และอาจารย์ผู้สอนก็ได้แนะนำเว็บไซต์ packmage ที่สามารถขึ้นแบบกล่องบรรจุภัณฑ์ให้ออกมาในรูปแบบ 3 มิติได้ง่ายๆ สะดวก และรวดเร็ว


ภาพแสดงหน้าเว็บไซต์ Packmage






* สอบ mid-term test วันที่ 19 ต.ค, 2557

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 5


การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 5 ของวิชาการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ARTD3302 กลุ่ม 201 ประจำวันที่ 21 กันยายน 2557 อาจารย์ผู้สอน ผศ. ประชิด ทิณบุตร

การเรียนการสอนในสัปดาห์ที่ 5 ฟังเพื่อนนำเสนอข่าวสาร 3 คนก่อนที่จะเข้าสู่การเรียนการสอน
และก่อนที่จะเรียกตรวจงานรายบุคคล อาจารย์ได้อธิบายเพื่มเติมเกี่ยวกับ Visual Analysis และ SWOT ว่าคืออะไร และวิเคราะห์อย่างไร โดยการทำ SWOT นั้นให้วิเคราะห์จาก Visual Analysis โดยแบ่งเป็น 2 ประเด็นคือ โครงสร้าง และ กราฟิก
วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค ของผลิตภัณฑ์ที่ได้เลือกมา




ภาพการวิเคราะห์สินค้า SWOT Analysis




และสอนเกี่ยวกับการใช้คำสั่งใน AI สำหรับสร้างเส้นขนานออกไปจากตัววัตถุเพื่อสร้างเส้นสำหรับไดคัท
รวมถึงการแนะนำให้แยก layer ในการทำงานต่างๆ เพื่อความสะดวกและเป็นระเบียบในการส่งพิมพ์​ และช่วยลดการเกิดปัญหาต่างๆ ในงานของเราได้

ตรวจงานรายบุคคลท้ายคาบ
นำกล่องที่ได้ออกแบบเป็นการบ้านเมื่อสัปดาห์ที่แล้วให้อาจารย์ดู













ได้รับคำแนะนำให้กลับมาแก้ไขดังนี้ คือ
1. กล่องหลวม ขนาดไม่พอดีกับผลิตภัณฑ์
2. ภาพประกอบยังไม่ชัดเจน อ. แนะนำว่า ถ้าหาภาพประกอบไม่ได้ให้ลองใช้ภาพกราฟิกแสดงวิธีใช้
3. ใช้คู่สี ok แล้ว
4. ด้านหน้ากล่องไม่ต้องเจาะ จะเจาะก็ต่อเมื่อบรรจุภัณฑ์เป็นแบบใส สามารถมองเห็นตัวผลิตภัณฑ์ด้านใน

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 4


วันที่ 14 กันยายน 2557 ได้ฟังเพื่อนแปล-สรุปข่าวจำนวน 3 คน และ present จำนวน 2 กลุ่ม โดยอาจารย์ผู้สอนได้ให้ไปศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทสุขภาพและความงาม โดยแนะนำเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องดังนี้



1. สมุนไพรอภัยภูเบศร http://www.abhaiherb.com/

แบรนด์สินค้าประเภทสุขภาพและความงามยี่ห้อหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน โดยอาจารย์ผู้สอนให้ศึกษาดูการออกแบบบรรจุภัณฑ์และวิธีการขายหรือจุดขายของแบรนด์นี้







2. Template Maker http://www.templatemaker.nl/

เว็บไซต์ที่ช่วยสร้าง template กล่องบรรจุภัณฑ์แบบง่ายและรวดเร็ว เป็นกล่องมาตรฐาน โดยวิธีใช้คือเพียงเรากำหนดหน่วยและความกว้าง ยาว ลึก ให้กับกล่องที่เราต้องการจะนำมาใช้ แล้วจึงสามารถดาวน์โหลดเป็น PDF หรือ SVG ได้ทันที
   



การบ้าน:

1. สรุปแบบ SWOT Analysis (การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค) ตามแบบที่อาจารย์ได้แชร์ไว้ให้ในโฟลเดอร์งานกลุ่ม

2. ออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าของแต่ละคน โดยนำ template จากเว็บ มาดัดแปลง อย่างน้อยคนละ 2 แบบ ใส่ภาพประกอบและข้อมูลให้เรียบร้อย (พิมพ์และตัดทำเป็นกล่องสมบูรณ์ที่ตัดใส่ได้จริง)

3. Sketch Design (แบบร่างมือ) ของบรรจุภัณฑ์ ใส่ข้อมูล-ขนาดลงไปในแบบด้วย

4. นำสินค้าคู่แข่งมาเปรียบเทียบ โดยเลือกสินค้าที่เป็นแบรนด์ดังและประเภทเดียวกับสินค้าของเรา

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 3

วันที่ 10 กันยายน 2557 ได้ฟังเพื่อนนำเสนอ-สรุปข่าวสาร 3 คน โดยอาจารย์ผู้สอนได้วิเคราะห์ข่าวของแต่ละคนเช่นเคย เพื่อเพิ่มความชัดเจนให้กับประเด็นของแต่ละข่าวมากขึ้น


วันนี้แต่ละกลุ่มได้นำเสนอ ส. 1 สืบค้น (Research) ที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้าสินค้าของแต่ละอำเภอ โดยใช้ Mood Board เป็นสื่อประกอบในการนำเสนอ ซึ่งอาจารย์ผู้สอนได้ให้คำแนะนำแต่ละกลุ่มตามปัญหาของสินค้าที่แตกต่างกันไป เนื่องจากยังมีจุดบกพร่องในการศึกษาหาข้อมูลและคิดวิเคราะห์ โดยเนื้อหามีดังนี้






1. ทำความเข้าใจในการทำ Mood Board ใหม่


Mood Board คือ ตัวช่วยทำให้เกิดความเข้าใจได้รวดเร็วที่สุด เป็นการรวบรวมข้อมูลที่สรุปแล้ว รูปภาพที่ใช้ควรถ่ายให้สวยงามและแสดงการวิเคราะห์ส่วนประกอบต่างๆ ของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ (Product & Package Visual Analysis) ให้ชัดเจน






2. ข้อมูลที่ควรศึกษาเพิ่มเติม


ในการศึกษาข้อมูลของสินค้าต้องมีการทดลองสินค้า ลงพื้นที่ และติดต่อสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้ประกอบการโดยตรง เพื่อให้การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในการนำเสนอ ส. 1 สัปดาห์นี้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้าและผู้ประกอบการยังไม่เพียงพอ แนะนำให้ลงพื้นที่และเข้าหาผู้ประกอบการโดยตรง เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการในการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ที่เลือกมาพัฒนา






3. วิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็ง (Swot Analysis)


ผลวิเคราะห์ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการตามแบบสรุปผลการสัมภาษณ์และข้อมูลการออกแบบเบื้องต้นที่อาจารย์ผู้สอนได้แชร์ให้ใน Google Drive โดยเป็นการวิเคราะห์ร่วมกันระหว่างผู้บันทึกและผู้ประกอบการ เพื่อให้เกิด Idea Concept และความเข้าใจไปในทางเดียวกัน และเพื่อผลิตผลงานการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สนองต่อความต้องการของทางผู้ประกอบการอย่างแท้จริง






ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ผู้สอนของ กลุ่ม Giveme5 (บ้านโรงวัว) มีดังนี้






1. ปัญหาหลักของสินค้า "ท่าทราย" คือ ภาพประกอบ/กราฟิก ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มี ซึ่งเราสามารถนำคำขวัญจังหวัด






2. พัฒนารูปแบบ: พัฒนาจากบรรจุภัณฑ์ที่มีอยู่ เนื่องจากใน Stock มีบรรจุภัณฑ์เดิมเหลืออยู่จำนวนมาก คิดหาวิธีต่างๆ เพื่อซ่อนภาพลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์เดิม เช่น การนำสติกเกอร์มาแปะทับ เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิตเพิ่ม






3. ศึกษาดูการจัดตะกร้า/กระเช้าของสินค้าท่าทราย เพื่ออกแบบพัฒนากล่องสำหรับใส่ผลิตภัณฑ์หรืออาจจะจัดสินค้าเป็น Set






4. ศึกษาการพิมพ์สติกเกอร์แต่ละชนิดที่สามารถนำมาใช้กับตัวบรรจุภัณฑ์ได้ อาจเป็นสติกเกอร์คุณภาพสูง เพื่อไม่เป็นการหลุดลอกได้ง่าย เนื่องจากเป็นสินค้าที่ต้องสัมผัสกับน้ำ






5. Logo มีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 2 อย่างคือ Figure & Ground คือ รูปร่าง/ลวดลายและพื้นหลัง เนื่องจากทางกลุ่มแม่บ้านท่าทรายไม่ต้องการเปลี่ยนโลโก้ เราควรเพิ่มความน่าสนใจให้กับโลโก้ เช่น การพิมพ์ลวดลายเป็นปั้มเงิน/ทอง หรืออาจใส่พื้นหลังสีเรียบๆ เพื่อให้เกิดความแตกต่าง แต่ไม่ได้ดัดแปลงส่วนเดิมที่ใช้อยู่






6. ข้อมูลที่ต้องสอบถามเพิ่มเติมจากทางผู้ประกอบการ:


- ปริมาณของบรรจุภัณฑ์ที่เหลืออยู่ใน Stock


- ไฟล์ต้นฉบับของโลโก้ หากไม่มีให้ดราฟขึ้นมาใหม่


(อาจจะทำให้เส้นเท่ากันเพื่อง่ายต่อการพิมพ์)


- ไฟล์ภาพประกอบ (ถ้ามี) หากไม่มีให้ทำการถ่ายภาพและ Retouch


หรือใช้ลวดลายกราฟิกได้






7. สามารถขึ้นแบบ SketchUp/3D ของบรรจุภัณฑ์ได้เลย


การบ้าน




1. ทำรายงานสรุปผลการสืบค้นข้อมูล ส. 1 ตามรายละเอียดใบงานในhttp://clarolinethai.info/


























ภาพที่ 1-2 ภาพขั้นตอนในการเข้าอ่านแบบฝึกหัด: ใบงานใน Clarolinethai,info




ที่มา: กฤติกา โสภาเธียร, 2557.




หมายเลข 1 เมื่อทำการเข้าระบบเรียบร้อย คลิก "แบบฝึกหัด: ใบงาน"

หมายเลข 2 คลิกชื่อรายการ "สรุปผลการสืบค้นข้อมูล ส. 1"

หมายเลข 3 รายละเอียดการส่งงาน

หมายเลข 4 รายละเอียดหัวข้อรายงาน







2. อภิปรายตามหัวข้อกระทู้ที่อาจารย์ได้ตั้งไว้ใน http://clarolinethai.info/











ภาพที่ 3-5 ภาพขั้นตอนการเข้าอ่านโจทก์การอภิปรายใน Clarolinethai.info

ที่มา: กฤติกา โสภาเธียร, 2557.

หมายเลข 1 เมื่อทำการเข้าระบบเรียบร้อย คลิก "การอภิปรายในวิชา"

หมายเลข 2 คลิกเลือกกลุ่มเรียน "กลุ่ม 201"

หมายเลข 3 คลิกเลือกกระทู้ "จงอภิปรายสรุปผลการเรียนรู้ในกิจกรรม"

หมายเลข 4 รายละเอียดประเด็นที่ต้องอภิปราย




3. Design Sketch (Comprehensive) สเก็ตแบบมีความเข้าใจ

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้วยการมอง (Product & Package Visual analysis)

การออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท

--------------------------------------------------

การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและการมอง

(Product and Package Visual analysis)




1. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์

     1.1  ชื่อสินค้า : ชาสมุนไพร  ชาอัญชัน

     1.2  ประเภท : บริโภค

     1.3  สถานะผลิตภัณฑ์ : เป็นผงละเอียด สีเขียวน้ำเงิน

     1.4  วิธีบริโภค : ใส่ชาอัญชันในน้ำต้มเดือด  ทิ้งไว้จนชาออกสีน้ำเงิน

     1.5   สี : เงิน

     1.6   ขนาด/มิติ : กว้าง  4 x 6 นิ้ว 

     1.7   ผู้ผลิต : หมู่4  ต.เสือโฮก  อ.เมือง  จ.ชัยนาท

     1.8   ที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์ : คุณวรรวลักษณ์ วงษ์คำภา หมายเลขโทรศํพท์  089-6395797

     1.9    HOMEPAGE : Wan_Zatis@hotmail.com

     1.10  ส่วนผสม : ตะไคร้  100%

     1.11   สี : น้ำเงิน  เป็นผงหยาบ

     1.12   รูปแบบการขาย : ขายส่ง

     1.13   ใช้เวลาในการผลิต : 1 สัปดาห์

     1.14   ราคา:ขายส่ง  20  บาท (ศูนย์จำหน่ายฯ 35 บาท),ออกงาน  35  บาท  3  ถุง  100  บาท



2. โครงสร้างหลักของตัวบรรจุภัณฑ์ที่ใช้

    

     2.1 เทคนิคการบรรจุ : บรรจุถุงพลาสติก และถุงฟรอยด์

     2.2 ใช้เทคนิค/วิธีการ/การบรรจุสินค้า : ใช้บรรจุถุงปิดปากด้วยการหนีบร้อน

     2.3 บรรจุภัณฑ์ชั้นแรกใช้วัสดุ : ถุงพลาสติก,ถุงฟรอยด์

     2.4 บรรจุภัณฑ์ชั้น2ใช้วัสดุ : ถุงซิบพลาสติกใส

     2.5 บรรจุภัณฑ์ชั้น3ใช้วัสดุ : -

     2.6 ขนาด/มิติ : ถุงฟรอยด์  10.5 cm x 15.5 cm , ถุงพลาสติก  8.2 cm x 12.5 cm

     2.7 สีของวัสดุบรรจุภัณฑ์ : สีเงิน  สีขาวใส

     2.8 การขึ้นรูปทรง : ซอง Pouch ไม่มีขยายก้น

     2.9 วัสดุตกแต่ง : สติกเกอร์ฉลากบรรจุภัณฑ์

     2.10 ระบบการพิมพ์ที่ใช้ : screen printing

     2.11 สี/จำนวนสีที่พิมพ : -


3. การออกแบบกราฟิก


     3.1 ภาพประกอบ : ภาพภ่ายรูปตะไคร้

     3.2 ลวดลาย : ใช้พื้นสีเขียวอ่อนและสีครีม

     3.3 ข้อความบนฉลากสินค้า: ฉลากซองฟรอยด้านหน้า

-ชาสมุนไพร ชาอัญชัน 

-สรรพคุณ  ช่วยย่อยอาหาร ล้างลำไส้  ลดไข้ บรรเทาระบบ หายใจ แก้ปวดกระดูก ปวดหลัง ปวดแข้งปวดขา ป้องกันกระดูกผุ

-กลุ่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ  ที่อยู่  หมู่4  ต.เสือโฮก  อ.เมือง จ. ชัยนาท  โทร.089-6395797 

     3.4 โลโก้ชื่อสินค้า : ไม่มีโลโก้สินค้า

     3.5 โลโก้ผู้ผลิต : กลุ่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ



ภาพแสดงการศึกษาวิเคราะห์ส่วนประกอบของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ทางการมองเห็น

    หมายเลข 1 คือ ชื่อผลิตภัณฑ์-ประเภทสินค้า

    หมายเลข 2 คือ ตราสัญลักษณ์กลุ่ม

    หมายเลข 3 คือ บอกชื่อวัตถุติบของผลิตภัณฑ์

    หมายเลข 4 คือ รูปของวัตถุดิบ

    หมายเลข 5 คือ ข้อมูลสรรพคุณของสินค้า

    หมายเลข 6 คือ สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์โอท็อป

    หมายเลข 7 คือ ที่อยู่ของกลุ่มผู้ผลิต

    หมายเลข 8 คือ วัสดุซองPouchไม่ขยายซอง

ภาพถ่ายสินค้าเพิ่มเติม


    


    ภาพที่ 3 ภาพถ่ายด้านหน้าและด้านหลังชาสนุนไพรอัญชัน

วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของ Packaging Desing



ความหมายของการบรรจุภัณฑ์ (Packaging)

การบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการตลาด โดยเฉพาะปัจจุบันที่การผลิตสินค้า หรือบริการได้เน้นหรือให้ความสำคัญกับผู้บริโภค (Consumer Oriented) และจะได้เห็นว่าการบรรจุภัณฑ์มีบทบาทมากขึ้นเพราะลำพังตัวสินค้าเองไม่มีนวัตกรรม (Innvoation) หรือการพัฒนาอะไรใหม่อีกแล้ว ฉีกแนวไม่ออกเพราะได้มีการวิจัยพัฒนากันมานานจนถึงขั้นสุดยอดแล้ว จึงต้องมาเน้นกันที่บรรจุภัณฑ์กับการบรรจุหีบห่อ (Packaging) บรรจุภัณฑ์กับหีบห่อ (Package) ถือว่าเป็นคำคำเดียวกัน ทั้งนี้สุดแล้วแต่ผู้ใดประสงค์หรือชอบที่จะใช้คำใด


ความหมายของการบรรจุภัณฑ์หรือการบรรจุหีบห่อ (Packaging)

1. Packaging หมายถึง งานเทคนิคที่ต้องอาศัยความชำนาญ ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ ในอันที่จะออกแบบและผลิตหีบห่อให้มีความเหมาะสมกับสินค้าที่ผลิตขึ้นมา ให้ความคุ้มครองสินค้า ห่อหุ้มสินค้าตลอดจนประโยชน์ใช้สอย อาทิเช่น ความสะดวกสบายในการหอบหิ้ว พกพาหรือการใช้ เป็นต้น

2. Packaging หมายถึง กลุ่มของกิจกรรมในการวางแผนเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิตภาชนะบรรจุหรือสิ่งหุ้มห่อสินค้าบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับฉลาก (Label) และตรายี่ห้อ (Brand name)

3. Packaging หมายถึง ผลรวมของศาสตร์ (Science) ศิลป์ (Art) และเทคโนโลยีของการออกแบบ การผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้า เพื่อการขนส่งและการขายโดยเสียค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม

4. Packaging หมายถึง การใช้เทคโนโลยีและเศรษฐศาสตร์เพื่อหาวิธีการรักษาสภาพเดิมของสินค้าจนกว่าจะถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย เพื่อให้ยอดขายมากที่สุดและต้นทุนต่ำสุด

5. Packaging หมายถึง กิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและผลิตรูปร่างหน้าตาของภาชนะบรรจุ สิ่งห่อหุ้มตัวผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์

6. Packaging เป็นทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ ซึ่งถูกมองในหลายแง่โดยบุคคลฝ่ายต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตสินค้า กล่าวคือ ฝ่ายเทคนิคจะคิดถึงปฏิกิริยาระหว่างภาชนะบรรจุกับผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม ฝ่ายผลิตจะพิจารณาต้นทุนและประสิทธิภาพของระบบการบรรจุ ฝ่ายจัดซื้อจะคำนึงถึงต้นทุนของวัสดุทางการบรรจุ และฝ่ายขายจะเน้นถึงรูปแบบและสีสันที่สะดุดตา ซึ่งจะช่วยในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้ Packaging ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมจะเกิดขึ้นได้จากการประนีประนอมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ภาชนะบรรจุซึ่งมีน้ำหนักเบาและราคาต้นทุนต่ำ แต่ในขณะเดียวกันมีรูปแบบสวยงาม และให้ความคุ้มครองอย่างเพียงพอแก่ผลิตภัณฑ์ภายในได้

7. Packaging หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดในขบวนการทางตลาดที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบสร้างสรรค์ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อให้กับผลิตภัณฑ์

8. Packaging หมายถึง การนำเอาวัสดุ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ ไม้ ประกอบเป็นภาชนะหุ้มห่อสินค้า เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยมีความแข็งแรง สวยงาม ได้สัดส่วนที่ถูกต้อง สร้างภาพพจน์ที่ดี มีภาษาในการติดต่อสื่อสาร และทำให้เกิดผลความพึงพอใจจากผู้ซื้อสินค้า

ส่วนความหมายของ “ หีบห่อ ” “ บรรจุภัณฑ์ ” หรือ “ ภาชนะบรรจุ ”
(Package) มีผู้ให้คำจำกัดความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้


1. Package หมายถึง สิ่งห่อหุ้มหรือบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งภาชนะที่ใช้เพื่อการขนส่งผลิตภัณฑ์จากแหล่งผู้ผลิตไปยังแหล่งผู้บริโภค หรือแหล่งใช้ประโยชน์ หรือวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการป้องกันหรือรักษาผลิตภัณฑ์ ให้คงสภาพตลอดจนคุณภาพใกล้เคียงกันกับเมื่อแรกผลิตให้มากที่สุด

2. Package หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่รองรับหรือหุ้มผลิตภัณฑ์ เพื่อทำหน้าที่ป้องกันผลิตภัณฑ์จากความเสียหายต่าง ๆ ช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการขนส่งและการเก็บรักษา ช่วยกระตุ้นการซื้อตลอดจนแจ้งรายละเอียดของผลิตภัณฑ์

นอกจากนี้ยังมีคำอีก 2 คำ ที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ คือ

1. การบรรจุภัณฑ์ (Packing) หมายถึง วิธีการบรรจุผลิตภัณฑ์ โดยการห่อหุ้ม หรือใส่ลงในบรรจุภัณฑ์ปิด หรือสิ่งอื่น ๆ ที่ปลอดภัย

2. ตู้ขนส่งสินค้า (Container) หมายถึง ตู้ขนาดใหญ่ที่ใช้ขนส่งสินค้า ซึ่งมีขนาดและรูปแบบแตกต่างกันตามวิธีการขนส่ง ( ทางเรือหรือทางอากาศ ) โดยทั่วไปจะมีขนาดมาตรฐานเป็นสากล คำว่า “ Container ” นี้อาจใช้ในความหมายที่ใส่ของเพื่อการขนส่งและจัดจำหน่าย ในปัจจุบัน



ที่มา CORNELIA and CO Packaging : http://jayce-o.blogspot.com/2013/01/creative-bakery-cake-packaging-designs.html

วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การเรียนสัปดาห์ที่ 1


การเรียนวิชา ARTD3302 
การออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ 
Graphic Design on Packaging
ในสัปดาห์ที่ 1 กลุ่มเรียน 201

     การเรียนการสอนในคาบแรกอาจารย์ได้แนะนำและอธิบายถึงเว็บไซต์แหล่งข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ให้นักศึกษาได้เข้าไปดูข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางและยังสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดได้อีกด้วย เว็บบล็อกที่เกี่ยวข้อง มีดังต่อไปนี้

1. การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ (ARTD3302,ARTI3314)
        
    เป็นเว็บบล็อกสนับสนุนการเรียนรู้วิชา Graphic Design for Packaging โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร รวบรวมทั้งรายละเอียด คำอธิบายรายวิชา จุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ การดำเนินการ ตลอดจนถึงการพัฒนาการเรียนรู้ของศึกษาและสามารถติดตามกิจกรรมต่างๆได้ในบล็อกนี้


     เป็นเว็บบล็อกงานบริการวิชาการ เผยแพร่และบริการความรู้วิจัย โดยให้ความรู้เรื่องแนวทางการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้แก่ชุมชน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมและผลผลิตจากการเรียนรายวิชาการออกแบบการฟิกบนบรรจุภัณฑ์ 



        เว็บไซต์สำหรับหาข่าว ให้แปลข่าวใส่ใน Google docs อ่านข่าวสัปดาห์ละ 3 คน


การบ้านในสัปดาห์ที่ 1

    - กรอกข้อมูลส่วนตัวลงแบบบันทึกใน Google docs ตามลิ้งค์ที่แนบให้เรียบร้อย
    - ทำแบบสำรวจก่อนเข้าเรียนตามลิ้งค์ที่แนบไว้
    - แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน พร้อมตั้งชื่อกลุ่ม และแชร์ให้กับอาจารย์ผู้สอน
    - การบ้าน "ส.1 การสืบค้น" ทำลงในเว็บบล็อกส่วนตัว มีดังนี้
      1. หาความหมายหรือคำนิยามของคำว่า Packaging Design แปลและอ้างอิงจาก dictionary เอกสาร หนังสือตำรา บทความ โดยอ้างอิงแหล่งที่มาให้ถูกต้อง อย่างน้อย 5 แหล่ง แล้วสรุปแยกเป็นประเด็น เขียนเป็นสำนวนของตนเอง พร้อมมีภาพประกอบ
      2. หาความหมายหรือคำนิยามของคำว่า การออกแบบบรรจุภัณฑ์ จาก dictionary เอกสาร หนังสือตำรา บทความ โดยอ้างอิงแหล่งที่มาให้ถูกต้อง อย่างน้อย 5 แหล่ง แล้วสรุปแยกเป็นประเด็น เขียนเป็นสำนวนของตนเอง พร้อมมีภาพประกอบคำอธิบาย
    - หาข้อมูลมาใส่แบบบันทึกการบ้านทุกสัปดาห์ อาจารย์จะแชร์ลิ้งไว้ให้
    - ตีความคำว่า "สินค้าประเภทสุขภาพและความงาม" โดยให้แต่ละกลุ่มเลือกสินค้าประเภท health & beauty มาคนละ 1 อย่าง  ไม่ให้ซ้ำกัน โดยต้องมีแหล่งที่มาของผู้ประกอบการที่ชัดเจน สามารถ search "วิสาหกิจชุมชน" ในการเลือกสินค้าที่ต้องการนำมาพัฒนา
    - รายงานข่าวครั้งละ 3 คน อ่านข่าวเวลา 6 โมง เริ่มสัปดาห์ที่ 2
    - สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับการเรียนในสัปดาห์ที่ 2 มีดังนี้
        - กระดาษ A4: ออกแบบหัวกระดาษเป็น theme ของตัวเอง ปริ้นและทำเป็นเล่มให้เรียบร้อย
        - ดินสอ 2B สำหรับ sketch
        - ไม้บรรทัด
        - กระดาษกราฟ
        - กล้อง(ถ้ามี)

แปล-สรุปบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาการออกแบบกราฟิกบนบรรณจุภัณฑ์


แปล-สรุปบทความเรื่องที่ 1
โดย Partners & Spade

จาก http://www.thedieline.com/blog/2014/8/13/sleepy-jones
ชื่อ นางสาวชนัดดา ช้างเยาว์
รหัสนักศึกษา 5311310253 กลุ่มเรียน 102
Contact E-mail : Chanadda.pr@gmail.com

Sleepy Jones
Sleepy Jones ถูกสร้างขึ้นจากแรงบันดาลใจ โดยการแต่งเติมสีสันที่คุณได้อ่าน เขียน ระบายหรือเล่นสี จนได้คิดค้นวิธีที่ทำให้ผู้คนละทิ้งแฟชั่นการใช้ชีวิตแบบเอื่อยเฉื่อยในวันที่เกรียจคร้านออกไป ฉันชอบเรื่องราวที่มีสีสัน ของโลโก้นี้มากเลย  ความมีชีวิตชีวาของแม่สีต่าง ๆ และริบบิ้นสีเหลืองสวยงามสะดุดตาอย่างเห็นได้ชัด และรู็สึกว่านี้เป็นโลโก้ที่สะดุดดาดูแล้วมีความสุขและสนกสนาน

“สลีปี้โจนส์ ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี2013 โดย Partners & Spade นักสะสมตัวยงอย่าง Anthony Sperduti และ Chad Buri จากการร่วมกันทำงานอีกหลายปีต่อมาที่ kate spade Spade and Partners & Spade ทั้งสามคนได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัทที่เชื่อมั่นในเรื่องของคุณงามความดี ความถูกต้อง ความคิดลึกซึ้ง ผลที่ได้คือชุดของชุดนอนชุดชั้นในชุดที่ค่อนข้างพร้อมในการสวมใส่ของผู้ชายและผู้หญิง แรงบันดาลใจจากวิถีชีวิตของศิลปิน เป็นหลักเหมือนกันทุกวันสำหรับการอ่านการเขียนการวาดภาพและการเล่น. - ไม่ว่าคุณจะอยู่ในหรือนอกห้องนอน "

สรุป
เป็นบรรณจุภัณฑ์ของชุดชั้นในมีทั้งของผู้ชายและผู้หญิงที่ออกแบบให้พร้อมในการสวมใส่ไม่ว่าจะทำกิจกรรมใด ๆ ที่ได้แรงบรรดาลใจจากวิถีชีวิตที่ของศิลปินในวันที่สบาย ๆ โดยบรรจุภัณฑ์ออกแบบให้ดูสนุกสนานและมีชีวิตชีวาโดยใช้แม่สีต่าง ๆ และริบบิ้นสีเหลืองโลโก้ที่สะดุดดาดูแล้วมีความสุขและสนกสนาน




Sleepy Jones is inspired by getting dressed up for when you read, write, paint or play. Sleepy Jones has finally created a way for people to look fashionable whilst being lounging or if you feel like just having a lazy day. I love the color story with this brand, the vibrant primary colors and yellow ribbon really showcases a beautiful contrast making this a happy and fun brand.
"Sleepy Jones was established in 2013 by Andy Spade and long-time collaborators Anthony Sperduti and Chad Buri. After years of working together at kate spade, Jack Spade and Partners & Spade, the three set out to create a company that believes in the virtues of tinkering and pondering. The result was a collection of sleepwear, underwear and not-quite-ready-to-wear for men and women inspired by the lifestyles of artists. Essentially, an everyday uniform for reading, writing, painting and playing – whether you’re in or outside the bedroom."










แปล-สรุปบทความเรื่องที่ 2

Package Design (Coffee Break)

โดย Phillip Powers


จาก https://www.behance.net/gallery/19247087/Package-Design-(Coffee-Break)
ชื่อ นางสาวชนัดดา ช้างเยาว์
รหัสนักศึกษา 5311310253 กลุ่มเรียน 102
Contact E-mail : Chanadda.pr@gmail.com

แปล
วัตถุประสงค์ของโครงการนี​​้คือการออกแบบบรรจุภัณฑ์กาแฟไปยังกลุ่มผู้คน ออกแบบเพื่อกลุ่มเป้าหมาย ฉันจะกำหนดเป้​​าหมายคนที่ชืื่นชอบในคิดถึงศิลปะวินเทจและผู้ที่ชอบผู้หญิงสไตล์ vintage pin up girl ฉันออกแบบโดยที่ใช้ผลงานของ Gil Elgren มาออกแบบลงบนผลงานของฉันเอง
The purpose of this project was to create a themed coffee packaging geared toward a select group of people. I decided to target people who collect nostalgia and who like vintage pin up girl art. I based my design around Gil Elvgren's artwork and added my own retro flair.

แปล-สรุปบทความเรื่องที่ 2

Woolworths Soap Shop

โดย Todd Anderson


จาก https://www.behance.net/gallery/7076101/Woolworths-Soap-Shop
ชื่อ นางสาวชนัดดา ช้างเยาว์
รหัสนักศึกษา 5311310253 กลุ่มเรียน 102
Contact E-mail : Chanadda.pr@gmail.com

แปล

เราได้รับสรุปการคัดสรรค์การออกแบบและบรรจุภัณฑ์โซลูชั่นที่นำเสนอมากมายของรูปแบบและสไตล์แบบดั้งเดิมและคลาสสิกที่ทันสมัย​​นามธรรมและการพิมพ์ ช่วงที่จำเป็นในการจะเป็นงานฉลองภาพสำหรับผู้บริโภค เราที่มาของจำนวนของการแก้ปัญหาที่แพคเกจที่แตกต่างกันรวมทั้งกระป๋อง, กล่องกระดาษสไตล์กระเป๋ามือดึงกล่องแท็บห่อกระดาษงานฝีมือและผ้าพันคอหัว สบู่ของเราในกระป๋องกลายเป็น บริษัท ที่ขายดีที่สุดของขวัญคริสต์มาสในปี 2011






We were briefed to create a selection of design and packaging solutions that offered a vast array of variation and style, from traditional decorative and classical to modern, abstract and typographic. The range needed to be a visual feast for the consumer. We sourced a number of different package solutions including tins, hand bag style carton boxes, pull tab boxes, craft paper wrappers and head scarves. Our soaps in tins became the companies best selling Christmas gift in 2011.