วันที่ 10 กันยายน 2557 ได้ฟังเพื่อนนำเสนอ-สรุปข่าวสาร 3 คน โดยอาจารย์ผู้สอนได้วิเคราะห์ข่าวของแต่ละคนเช่นเคย เพื่อเพิ่มความชัดเจนให้กับประเด็นของแต่ละข่าวมากขึ้น
วันนี้แต่ละกลุ่มได้นำเสนอ ส. 1 สืบค้น (Research) ที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้าสินค้าของแต่ละอำเภอ โดยใช้ Mood Board เป็นสื่อประกอบในการนำเสนอ ซึ่งอาจารย์ผู้สอนได้ให้คำแนะนำแต่ละกลุ่มตามปัญหาของสินค้าที่แตกต่างกันไป เนื่องจากยังมีจุดบกพร่องในการศึกษาหาข้อมูลและคิดวิเคราะห์ โดยเนื้อหามีดังนี้
1. ทำความเข้าใจในการทำ Mood Board ใหม่
Mood Board คือ ตัวช่วยทำให้เกิดความเข้าใจได้รวดเร็วที่สุด เป็นการรวบรวมข้อมูลที่สรุปแล้ว รูปภาพที่ใช้ควรถ่ายให้สวยงามและแสดงการวิเคราะห์ส่วนประกอบต่างๆ ของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ (Product & Package Visual Analysis) ให้ชัดเจน
2. ข้อมูลที่ควรศึกษาเพิ่มเติม
ในการศึกษาข้อมูลของสินค้าต้องมีการทดลองสินค้า ลงพื้นที่ และติดต่อสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้ประกอบการโดยตรง เพื่อให้การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในการนำเสนอ ส. 1 สัปดาห์นี้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้าและผู้ประกอบการยังไม่เพียงพอ แนะนำให้ลงพื้นที่และเข้าหาผู้ประกอบการโดยตรง เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการในการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ที่เลือกมาพัฒนา
3. วิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็ง (Swot Analysis)
ผลวิเคราะห์ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการตามแบบสรุปผลการสัมภาษณ์และข้อมูลการออกแบบเบื้องต้นที่อาจารย์ผู้สอนได้แชร์ให้ใน Google Drive โดยเป็นการวิเคราะห์ร่วมกันระหว่างผู้บันทึกและผู้ประกอบการ เพื่อให้เกิด Idea Concept และความเข้าใจไปในทางเดียวกัน และเพื่อผลิตผลงานการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สนองต่อความต้องการของทางผู้ประกอบการอย่างแท้จริง
ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ผู้สอนของ กลุ่ม Giveme5 (บ้านโรงวัว) มีดังนี้
1. ปัญหาหลักของสินค้า "ท่าทราย" คือ ภาพประกอบ/กราฟิก ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มี ซึ่งเราสามารถนำคำขวัญจังหวัด
2. พัฒนารูปแบบ: พัฒนาจากบรรจุภัณฑ์ที่มีอยู่ เนื่องจากใน Stock มีบรรจุภัณฑ์เดิมเหลืออยู่จำนวนมาก คิดหาวิธีต่างๆ เพื่อซ่อนภาพลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์เดิม เช่น การนำสติกเกอร์มาแปะทับ เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิตเพิ่ม
3. ศึกษาดูการจัดตะกร้า/กระเช้าของสินค้าท่าทราย เพื่ออกแบบพัฒนากล่องสำหรับใส่ผลิตภัณฑ์หรืออาจจะจัดสินค้าเป็น Set
4. ศึกษาการพิมพ์สติกเกอร์แต่ละชนิดที่สามารถนำมาใช้กับตัวบรรจุภัณฑ์ได้ อาจเป็นสติกเกอร์คุณภาพสูง เพื่อไม่เป็นการหลุดลอกได้ง่าย เนื่องจากเป็นสินค้าที่ต้องสัมผัสกับน้ำ
5. Logo มีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 2 อย่างคือ Figure & Ground คือ รูปร่าง/ลวดลายและพื้นหลัง เนื่องจากทางกลุ่มแม่บ้านท่าทรายไม่ต้องการเปลี่ยนโลโก้ เราควรเพิ่มความน่าสนใจให้กับโลโก้ เช่น การพิมพ์ลวดลายเป็นปั้มเงิน/ทอง หรืออาจใส่พื้นหลังสีเรียบๆ เพื่อให้เกิดความแตกต่าง แต่ไม่ได้ดัดแปลงส่วนเดิมที่ใช้อยู่
6. ข้อมูลที่ต้องสอบถามเพิ่มเติมจากทางผู้ประกอบการ:
- ปริมาณของบรรจุภัณฑ์ที่เหลืออยู่ใน Stock
- ไฟล์ต้นฉบับของโลโก้ หากไม่มีให้ดราฟขึ้นมาใหม่
(อาจจะทำให้เส้นเท่ากันเพื่อง่ายต่อการพิมพ์)
- ไฟล์ภาพประกอบ (ถ้ามี) หากไม่มีให้ทำการถ่ายภาพและ Retouch
หรือใช้ลวดลายกราฟิกได้
7. สามารถขึ้นแบบ SketchUp/3D ของบรรจุภัณฑ์ได้เลย
การบ้าน
1. ทำรายงานสรุปผลการสืบค้นข้อมูล ส. 1 ตามรายละเอียดใบงานในhttp://clarolinethai.info/
ภาพที่ 1-2 ภาพขั้นตอนในการเข้าอ่านแบบฝึกหัด: ใบงานใน Clarolinethai,info
ที่มา: กฤติกา โสภาเธียร, 2557.
หมายเลข 1 เมื่อทำการเข้าระบบเรียบร้อย คลิก "แบบฝึกหัด: ใบงาน"
หมายเลข 2 คลิกชื่อรายการ "สรุปผลการสืบค้นข้อมูล ส. 1"
หมายเลข 3 รายละเอียดการส่งงาน
หมายเลข 4 รายละเอียดหัวข้อรายงาน
2. อภิปรายตามหัวข้อกระทู้ที่อาจารย์ได้ตั้งไว้ใน http://clarolinethai.info/
ภาพที่ 3-5 ภาพขั้นตอนการเข้าอ่านโจทก์การอภิปรายใน Clarolinethai.info
ที่มา: กฤติกา โสภาเธียร, 2557.
หมายเลข 1 เมื่อทำการเข้าระบบเรียบร้อย คลิก "การอภิปรายในวิชา"
หมายเลข 2 คลิกเลือกกลุ่มเรียน "กลุ่ม 201"
หมายเลข 3 คลิกเลือกกระทู้ "จงอภิปรายสรุปผลการเรียนรู้ในกิจกรรม"
หมายเลข 4 รายละเอียดประเด็นที่ต้องอภิปราย
3. Design Sketch (Comprehensive) สเก็ตแบบมีความเข้าใจ
เว็บบล็อคสรุปผลการเรียนรู้รายวิชาการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์(ARTD3302) โดย นางสาวชนัดดา ช้างเยาว์
วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557
วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557
การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้วยการมอง (Product & Package Visual analysis)
การออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท
--------------------------------------------------
การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและการมอง
(Product and Package Visual analysis)
1. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์
1.1 ชื่อสินค้า : ชาสมุนไพร ชาอัญชัน
1.2 ประเภท : บริโภค
1.3 สถานะผลิตภัณฑ์ : เป็นผงละเอียด สีเขียวน้ำเงิน
1.4 วิธีบริโภค : ใส่ชาอัญชันในน้ำต้มเดือด ทิ้งไว้จนชาออกสีน้ำเงิน
1.5 สี : เงิน
1.6 ขนาด/มิติ : กว้าง 4 x 6 นิ้ว
1.7 ผู้ผลิต : หมู่4 ต.เสือโฮก อ.เมือง จ.ชัยนาท
1.8 ที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์ : คุณวรรวลักษณ์ วงษ์คำภา หมายเลขโทรศํพท์ 089-6395797
1.9 HOMEPAGE : Wan_Zatis@hotmail.com
1.10 ส่วนผสม : ตะไคร้ 100%
1.11 สี : น้ำเงิน เป็นผงหยาบ
1.12 รูปแบบการขาย : ขายส่ง
1.13 ใช้เวลาในการผลิต : 1 สัปดาห์
1.14 ราคา:ขายส่ง 20 บาท (ศูนย์จำหน่ายฯ 35 บาท),ออกงาน 35 บาท 3 ถุง 100 บาท
2. โครงสร้างหลักของตัวบรรจุภัณฑ์ที่ใช้
2.1 เทคนิคการบรรจุ : บรรจุถุงพลาสติก และถุงฟรอยด์
2.2 ใช้เทคนิค/วิธีการ/การบรรจุสินค้า : ใช้บรรจุถุงปิดปากด้วยการหนีบร้อน
2.3 บรรจุภัณฑ์ชั้นแรกใช้วัสดุ : ถุงพลาสติก,ถุงฟรอยด์
2.4 บรรจุภัณฑ์ชั้น2ใช้วัสดุ : ถุงซิบพลาสติกใส
2.5 บรรจุภัณฑ์ชั้น3ใช้วัสดุ : -
2.6 ขนาด/มิติ : ถุงฟรอยด์ 10.5 cm x 15.5 cm , ถุงพลาสติก 8.2 cm x 12.5 cm
2.7 สีของวัสดุบรรจุภัณฑ์ : สีเงิน สีขาวใส
2.8 การขึ้นรูปทรง : ซอง Pouch ไม่มีขยายก้น
2.9 วัสดุตกแต่ง : สติกเกอร์ฉลากบรรจุภัณฑ์
2.10 ระบบการพิมพ์ที่ใช้ : screen printing
2.11 สี/จำนวนสีที่พิมพ : -
3. การออกแบบกราฟิก
3.1 ภาพประกอบ : ภาพภ่ายรูปตะไคร้
3.2 ลวดลาย : ใช้พื้นสีเขียวอ่อนและสีครีม
3.3 ข้อความบนฉลากสินค้า: ฉลากซองฟรอยด้านหน้า
-ชาสมุนไพร ชาอัญชัน
-สรรพคุณ ช่วยย่อยอาหาร ล้างลำไส้ ลดไข้ บรรเทาระบบ หายใจ แก้ปวดกระดูก ปวดหลัง ปวดแข้งปวดขา ป้องกันกระดูกผุ
-กลุ่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ที่อยู่ หมู่4 ต.เสือโฮก อ.เมือง จ. ชัยนาท โทร.089-6395797
3.4 โลโก้ชื่อสินค้า : ไม่มีโลโก้สินค้า
3.5 โลโก้ผู้ผลิต : กลุ่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
ภาพแสดงการศึกษาวิเคราะห์ส่วนประกอบของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ทางการมองเห็น
หมายเลข 1 คือ ชื่อผลิตภัณฑ์-ประเภทสินค้า
หมายเลข 2 คือ ตราสัญลักษณ์กลุ่ม
หมายเลข 3 คือ บอกชื่อวัตถุติบของผลิตภัณฑ์
หมายเลข 4 คือ รูปของวัตถุดิบ
หมายเลข 5 คือ ข้อมูลสรรพคุณของสินค้า
หมายเลข 6 คือ สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์โอท็อป
หมายเลข 7 คือ ที่อยู่ของกลุ่มผู้ผลิต
หมายเลข 8 คือ วัสดุซองPouchไม่ขยายซอง
ภาพถ่ายสินค้าเพิ่มเติม
ภาพที่ 3 ภาพถ่ายด้านหน้าและด้านหลังชาสนุนไพรอัญชัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)